กระดาษคราฟท์
- กระดาษคราฟท์ของบริษัท สำหรับทำผิวกล่อง Kraft Liner Board แบ่งเป็น 5 ประเภทหลัก ดังนี้
1. กระดาษคราฟท์สีน้ำตาล KT
ความหนา 125 150 175 205 กรัม/ตารางเมตร คุณลักษณะ กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำผิวกล่อง ผลิตจากเยื่อ Recycle 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแต่ยังคงความสวยงามและความแข็งแกร่ง การนำไปใช้งาน เหมาะสำหรับกล่องที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรง เหมาะสำหรับการส่งออก ซึ่งสินค้า แบรนด์ต่างประเทศนิยมใช้ 2. กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อน KI
ความหนา 125 150 185 กรัม/ตารางเมตร คุณลักษณะ ผิวกระดาษสีน้ำตาลอ่อนรองรับตัวหนังสือสีทึบเข้มได้ดี คุณภาพรองจากเกรด KA การนำไปใช้งาน เหมาะสำหรับกล่องที่ต้องการความแข็งแรง เช่น กล่องเครื่องดื่ม กล่องอาหารกระป๋อง กล่องนม กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ 3. กระดาษคราฟท์สีเหลืองทอง KA
ความหนา 125 150 185 230 กรัม/ตารางเมตร คุณลักษณะ กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่อง มีความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ การนำไปใช้งาน เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าในประเทศและส่งออก เช่น อาหารกระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็ง เครื่องใช้ไฟฟ้า อะไหล่ยนต์ ชิ้นส่วนอีเล็กทรอนิกส์ แผงวงจรไฟฟ้า กล่องเฟอร์นิเจอร์ ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรงทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก 4. กระดาษคราฟท์สีขาว KW
ความหนา 125 140 170 กรัม/ตารางเมตร คุณลักษณะ กระดาษคราฟท์สีขาวสำหรับทำผิวกล่อง มีความเรียบ สะอาด เหมาะสำหรับกล่องที่เน้นความสวยงาม และ ช่วยให้การพิมพ์ที่มีสีสันชัดเจน ดูโดดเด่น มีความแข็งแรงสูง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี การนำไปใช้งาน นิยมใช้สำหรับ กล่องผลไม้ กล่องดอกไม้ กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้า กล่องอาหารแช่แข็ง สินค้าเพื่อการส่งออก และกล่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องการบ่งบอกถึงความมีระดับของสินค้า เป็นต้น - กระดาษคราพท์สำหรับทำทำลอนลูกฟูก Corrugating Medium
5. กระดาษคราพท์สำหรับทำทำลอนลูกฟูก CA (Corrugating Medium)
ความหนา 85 100 105 115 125 150 185 กรัม/ตารางเมตร คุณลักษณะ กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลสำหรับทำลอนลูกฟูก ผลิตจากเยื่อ Recycle 100% เพื่อส่งเสริมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การนำไปใช้งาน เหมาะสำหรับใช้ทำลอนลูกฟูกกล่องกระดาษทุกชนิด หรือใช้ทำเป็น LINER BOARD คุณสมบัติรับน้ำหนักการเรียงซ้อนได้หลายชั้น และทนแรงกระแทก บางครั้ง CA อาจถูกนำ มาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุน
แผ่นกระดาษลูกฟูก
แผ่นกระดาษลูกฟูก ประกอบด้วย แผ่นกระดาษคราฟท์สำหรับทำผิวกล่อง (Kraft Liner Board) และมีกระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก (Corrugate Medium) อยู่ตรงกลาง สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท
1. กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น (Single wall Corrugate Board)
ประกอบด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ประกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่างกระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น คุณสมบัติเหมาะกับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง ที่ไม่เน้นความแข็งแรงมาก
ใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นใน Inner Box ลอนมาตรฐาน ลอน B ลอน C และลอน E ตามภาพประกอบด้านล่าง
- ลอน B
ความกว้าง: 6.3-6.6 มม.
ความสูง: 2.1-3.0 มม.
จำนวนลอน: 150-185 ต่อเมตรคุณสมบัติ: สามารถรับแรงกดตามความสูงลอนได้ดี เหมาะสำหรับนำไปบรรจุสินค้าที่รับน้ำหนักได้ด้วยตัวมันเอง เช่น กระป๋องเหล็ก- ลอน C
ความกว้าง: 7.3-8.1 มม.
ความสูง: 3.4-4.1 มม.
จำนวนลอน: 120-145 ต่อเมตรคุณสมบัติ: คุณสมบัติอยู่ระหว่างลอน A และลอน B เป็นที่นิยมใช้กันมาก เหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าทั่วๆ ไป รับน้ำหนักได้ปานกลาง ผลิตได้ทั้งแบบได้คัท และ RCS- ลอน E
ความกว้าง: 3.2-3.4 มม.
ความสูง: 1.0-1.8 มม.
จำนวนลอน: 290-320 ต่อเมตรคุณสมบัติ: สามารถรับแรงกดตามความสูงลอนได้สูงมาก รองรับการพิมพ์ได้ดีที่สุด สามารถใช้สำหรับงานพิมพ์หลายสีได้ เหมาะกับกล่องไดคัทขนาดเล็กหรือกล่องออฟเซ็ท เช่น เครื่องสำอาง และกล่องของเด็กเล่น
2. กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น (Double wall Corrugate Board)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น กับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น แบ่งเป็น 2 ประเภท
- ลอน BC
คือ การใช้ลอน B ประกอบกับลอน C มีคุณสมบัติการเป็นตัวกันกระแทกมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ และรูปทรงกระดาษที่ดีกว่า นิยมทำแผ่นกั้นกันกระแทก เช่น RSC กล่องที่ใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก รับน้ำหนักการวางซ้อนได้ดีใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ชั้นนอก Outer Box
ลอนมาตรฐาน ลอน BC (ลอนB อยู่ด้านนอก ลอนC อยู่ด้านใน)ความสวยงามในการพิมพ์:ดี
พื้นที่ใช้ในการจัดเรียง: EC ช่วยประหยัดพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ความสูงลอน (มม.):5.60-5.70
น้ำหนัก (กรัม):EC มีน้ำหนักเบากว่าลอน BC ที่ 7.24 %คุณสมบัติ: เป็นตัวกันกระแทกมีความแข็งแรงเป็นพิเศษ และรูปทรงกระดาษที่ดีกว่านิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก รับน้ำหนักการวางซ้อนได้ดี เช่น โทรทัศน์ ตู้เย็น เครื่องยนต์ / ชิ้นส่วน
- ลอน EC
คือ การใช้ลอน E ประกอบกับลอน C โดยลอน E ที่มีขนาดลอนขนาดเล็กจะอยู่ด้านหน้า จะให้คุณสมบัติดีทางด้านการพิมพ์ที่สวยงามและการรับกระแทก จึงช่วยให้กล่องฉีกขาดยากกว่า และลอน C ที่มีขนาดใหญ่กว่าอยู่ด้านหลัง จะช่วยการรับแรงในแนวตั้งที่ดีกว่าร่วมถึงการรองรับการกระแทกที่นุ่นนวลกว่า
ความกว้าง:
ความสวยงามในการพิมพ์: ดีมาก
พื้นที่ใช้ในการจัดเรียง:EC ช่วยประหยัดพื้นที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิม
ความสูงลอน (มม.):6.70-6.80
น้ำหนัก (กรัม):EC มีน้ำหนักเบากว่าลอน BC ที่ 7.24 %คุณสมบัติ:
- ให้ผิวสัมผัสที่เรียบเนียนกว่า ช่วยให้งานพิมพ์บนผิวกล่องมีความคมชัด ไม่ขึ้นลอน
- ช่วยประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บและการจัดส่ง 16.4% เมื่อเทียบกับชนิดลอน BC ด้วยความสูงของลอนที่ลดลงทำให้มิติรวมของกล่องเล็กลง
- ให้น้ำหนักที่เบากว่ากระดาษลอน BCการนำไปใช้ประโยชน์:
1.บรรจุภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว
เนื่องจากเป็นผลิตภัณฑ์ที่เน้นงานพิมพ์เพื่อสื่อข้อความและรูปภาพที่ชัดเจนบนชั้นวางสินค้า
2.บรรจุภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก
เนื่องจากช่วยในการประหยัดพื้นที่การจัดเรียงภายในตู้ Container ทำให้สามารถช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง
3.บรรจุภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์
สามารถเพิ่มการป้องกันความเสียหายของสินค้าเมื่อเทียบกับกระดาษ 3 ชั้นที่มีน้ำหนักแกรมที่เท่ากัน
4.บรรจุภัณฑ์ในกลุ่มขนส่งทางอากาศ
ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายด้วยพื้นที่ที่เล็กลง และน้ำหนักที่เบากว่าเมื่อเทียบกับกระดาษลอน BC
กล่องกระดาษลูกฟูก
ประเภทของกล่องกระดาษลูกฟูก
- 1. กล่องธรรมดา, กล่องฝาชน – RSC (Regular Slotted Container)
ลักษณะกล่อง: โดยทั่วไป ฝาเปิดปิดอยู่ด้านบนและด้านล่าง โดยฝาเปิดปิดกว้างเท่ากันแต่ละด้านจะบรรจบที่ตรงกลางของกล่องตามด้านความยาวของฝากล่อง
การใช้งาน: ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ทั่วๆไป มีความแข็งแรงพอประมาณ เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าประเภทเครื่องอุปโภคบริโภค, เครื่องคอมพิวเตอร์ , เครื่องใช้ไฟฟ้า, อาหารกระป๋อง กล่องที่ใช้ในการขนส่ง เป็นต้น
- 2. กล่องฝาเกย – OSC (Overlap Slotted Container)
ลักษณะกล่อง: โดยทั่วไปเหมือนกับกล่อง RSC เปิดได้ด้านบนและด้านล่าง ฝาด้านบนและด้านล่างมีลักษณะเกยกันมีฝาเปิดปิดกว้างเท่ากัน ฝากล่องด้านนอกกว้างเท่ากับด้านกว้างของกล่อง ทำให้ทับกันสนิท
การใช้งาน: ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ทั่วไป มีความแข็งแรง มากสามารถป้องกัน การสูญหายของสินค้าที่ถูกบรรจุได้ เหมาะสำหรับสินค้ารูปทรงยาว ด้านกว้างแคบ เช่น บรรจุหลอดไฟฟ้า, ร่ม, เฟอร์นิเจอร์, ผลิตภัณฑ์ไม้แปรรูป เป็นต้น
- 3. กล่องฝาครอบ – FTD (Full Telescope Design Style Box)
ลักษณะกล่อง: เปิดโดยยกกล่องที่สวมกันอยู่ 2 กล่อง เปิดด้านล่าง 1 กล่อง และเปิด ด้านบนอีก 1 กล่อง สามารถครอบกันได้สนิท ประกอบด้วยกล่อง 2 ชั้น คือ ฝาครอบกับตัวกล่อง
การใช้งาน: ใช้ในการบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ แสดงสินค้าให้เห็นได้ชัดเจนในขณะที่เปิดกล่อง หรือต้องการระบายอากาศ เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าทางการเกษตร ทั้งสดและแปรรูป เช่น ผักสด, ผลไม้, ดอกไม้, เสื้อผ้า เป็นต้น
- 4. กล่องไดคัท (Die-Cut)
ลักษณะกล่อง: จะขึ้นอยู่กับความต้องการและลักษณะของสินค้า มีความหลากหลาย จะถูกออกแบบให้เป็นลักษณะพิเศษโดยเฉพาะ
การใช้งาน: ความสะดวกโดยมีที่ถือในตัว มีความสวยงาม หรือเรียกว่ากล่อง Inner Box เพื่อเพิ่มมูลค่าให้สินค้า หรือเพื่อความสะดวกในการวางโชว์สินค้า เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าเกษตรแปรรูป, ของเล่น, ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ผักสด, ผลไม้ เป็นต้น